นายสัญญา ธรรมศักดิ์
สำหรับท่านที่12นะคะเรามาดูกันว่าท่านนี้ทำประโยชน์ให้ประเทศไทยอย่างไรบ้างและท่านดำรงตำแหน่งได้นานเท่าไหร่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้างเรามาชมกันเลยนะคะ
ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ (5 เมษายน พ.ศ. 2450 — 6 มกราคม พ.ศ. 2545) เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา, คณบดีคณะนิติศาสตร์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการข้าราชการพลเรือนผู้ทรงคุณวุฒิ,ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ, ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี 2
สมัย และได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นประธานองคมนตรี ถึงแก่อสัญกรรม ณ โรงพยาบาลรามาธิบดีกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2545 สิริอายุรวยได้ 94
ปี
การศึกษา
1. เข้าศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนทวีธาภิเศก เมื่อ พ.ศ. 2456 จากนั้นจึงย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เมื่อ พ.ศ. 2457 และสำเร็จชั้น 6 อังกฤษ (มัธยมบริบูรณ์) พ.ศ. 2468
2. เข้าศึกษาที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมเป็นเวลา
3 ปี และสำเร็จเป็นเนติบัณฑิต เมื่อ พ.ศ. 2471
3. สอบแข่งขันได้คะแนนสูงสุด ได้รับทุนเล่าเรียน
"รพีบุญนิธิ" พ.ศ. 2472 ไปศึกษาวิชากฎหมายต่อในประเทศอังกฤษ ที่สำนักมิดเดิ้ลเทมเปิ้ล
(The Middle Temple) เป็นเวลา 3 ปี
และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ (Barrister-at-Law) เมื่อ พ.ศ. 2475
การดำรงตำแหน่งองคมนตรี
การดำรงตำแหน่งองคมนตรี
ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์ได้รับการโปรดเกล้า ฯแต่งตั้งเป็นองคมนตรี
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2511เรื่อยมาจนกระทั่งถึงวันที่ 14
ตุลาคม พ.ศ. 2516 ท่านกราบบังคมทูลลาไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ต่อมาหลังจากท่านพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว จึงได้รับการโปรดเกล้า ฯ
แต่งตั้งเป็นองคมนตรีอีกครั้ง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2518
พร้อมกับบุคคลอื่น ๆ อีก 11 คนต่อมา หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ ประธานองคมนตรีถึงแก่อสัญกรรมในวันที่
8 กันยายน พ.ศ. 2518 ตำแหน่งประธานองคมนตรีจึงว่างลง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ศ.สัญญา
ธรรมศักดิ์ เป็นประธานองคมนตรี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2518ท่านดำรงตำแหน่งนี้เรื่อยมาจนถึงวันที่ 4 กันยายน
พ.ศ. 2541 จึงพ้นจากตำแหน่งประธานองคมนตรี
โดยท่านขอลาออกเองเนื่องจากปัญหาสุขภาพพลเอกเปรม ติณสูลานนท์จึงได้รับโปรดเกล้า ฯ เป็นประธานองคมนตรีสืบมา
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
สมัยที่ 1 - 14 ตุลาคม 2516 - 15 กุมภาพันธ์ 2518
สมัยที่ 1 - 14 ตุลาคม 2516 - 15 กุมภาพันธ์ 2518
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น