พันเอก
พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
สำหรับท่านที่2นะคะเรามาดูกันว่าท่านนี้ทำประโยชน์ให้ประเทศไทยอย่างไรบ้างและท่านดำรงตำแหน่งได้นานเท่าไหร่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้างเรามาชมกันเลยนะคะ
ระยะเวลาในกาดำรงตำแหน่ง พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พระยาพหพลพยุหเสนา เป็นนายการัฐมนตรีไทยคนที่ 2 เดิมชื่อว่า "พจน์ พหลโยธิน" เกิดวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2430 บุตรของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (กิ่ม พหลโยธิน) กับท่านผู้หญิงจับ พหลพลพยุหเสนา สมรสกับท่านผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี 5 สมัย รวมระยะเวลา 5 ปี 5 เดือน 21 วัน
การศึกษา
การศึกษา
·
โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร (วัดสามปลื้ม)
·
โรงเรียนสุขุมาลวิทยาลัย
·
โรงเรียนนายร้อยทหารบก
·
พ.ศ. 2446 โรงเรียนนายร้อยทหารบก เมืองกรอส-ลิชเตอร์เฟลเด (Groß-Lichterfelde) ประเทศเยอรมนี
·
พ.ศ. 2455 โรงเรียนช่างแสง ประเทศเดนมาร์ก (1
ปีก็ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากเงินทุนการศึกษาไม่เพียงพอ)
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
·
สมัยที่
1 : 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476
·
สมัยที่
2 : 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 - 22 กันยายน พ.ศ. 2477
·
สมัยที่
3 : 22 กันยายน พ.ศ. 2477 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480
·
สมัยที่
4 : 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480
·
สมัยที่
5 : 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481
ประวัติการทำงาน
·
พ.ศ. 2453 ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ประเทศเยอรมนี
·
พ.ศ. 2457 ประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 จังหวัดราชบุรี
·
พ.ศ. 2458 ผู้บังคับการกองร้อยที่ 2 กรมทหารปืนใหญ่ บางซื่อ
พระนคร
·
พ.ศ. 2460 ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 9 จังหวัดฉะเชิงเทรา
·
พ.ศ. 2461 ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 2
·
พ.ศ. 2467 เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระสรายุทธ์สรสิทธิ์ ถือศักดินา 1,000
·
พ.ศ. 2469 ผู้อำนวยการแผนกโรงเรียนทหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี
·
วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2471 ได้เลื่อนยศทางทหารเป็น พันเอก
·
วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองครักษ์เวร
·
พ.ศ. 2473 จเรทหารปืนใหญ่
·
วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาพหลพลพยุหเสนา ถือศักดินา 1,500
·
พ.ศ. 2475 ผู้บัญชาการทหารบก
·
พ.ศ. 2487 แม่ทัพใหญ่มีอำนาจสิทธิ์ขาด บังคับบัญชาแม่ทัพบก แม่ทัพเรือ แม่ทัพอากาศ
และตำรวจสนามตามกฎอัยการศึก
บทบาททางการเมือง
·
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นหัวหน้าคณะราษฎร ปฏิวัติจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ จนได้รับฉายาว่า "เชษฐบุรุษประชาธิปไตย" จากที่มีบทบาทค่อนข้างสูงในการปฏิวัติ เพราะเป็นผู้นำคณะราษฎรฝ่ายทหารบก
และหลังจากที่คำว่าประชาธิปไตยได้ถูกบัญญัติและเผยแพร่ไป มีชาวบ้านบางคนคิดว่า
เป็นชื่อของลูกชายของพระยาพหลพลพยุหเสนาด้วยซ้ำ
·
วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 1 โดยรัฐประหารรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
·
วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2
·
วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2477 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 3
·
พ.ศ. 2477 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
·
พ.ศ. 2478 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
·
วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 4 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
·
วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 5
·
วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481 ยุบสภาและลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
·
พ.ศ. 2487 แม้พันเอก
พระยาพหลพลพยุหเสนาจะวางมือจากตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองแล้ว ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่
2 ท่านได้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่
และได้รับยศ พลเอก (พล.อ.)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น