นายปรีดี พนมยงค์
สำหรับท่านที่7นะคะเรามาดูกันว่าท่านนี้ทำประโยชน์ให้ประเทศไทยอย่างไรบ้างและท่านดำรงตำแหน่งได้นานเท่าไหร่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้างเรามาชมกันเลยนะคะ
ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม
พ.ศ. 2443 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เป็นผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และเป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 3
สมัยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ อีกหลายสมัย
เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การเพียงคนเดียวของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองและเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบัน คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปรีดีเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นผู้แพ้สงครามนอกจากนี้เขายังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในรัชกาลที่ 8 และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ยกย่องในฐานะ "รัฐบุรุษอาวุโส" ปรีดีต้องยุติบทบาททางการเมืองหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล โดยถูกกล่าวหาจากพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว ต่อมาเกิดการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เป็นเหตุให้เขาต้องลี้ภัยการเมืองไปยังประเทศจีนและฝรั่งเศสรวมระยะเวลากว่า 30
ปี และไม่ได้กลับสู่ประเทศไทยอีกเลยจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ระหว่างที่ลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ
ปรีดีได้ฟ้องร้องผู้ใส่ความหมิ่นประมาทต่อศาลยุติธรรม
ผลปรากฏว่าศาลตัดสินให้ชนะทุกคดี
และยังได้รับความรับรองจากทางราชการตลอดจนเงินบำนาญและหนังสือเดินทางของไทย
ใน พ.ศ. 2542
ที่ประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 30 ขององค์การยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ได้มีมติประกาศให้ปรีดี พนมยงค์ เป็น "บุคคลสำคัญของโลก"
และได้ร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 100 ปี
ชาตกาลของเขา ระหว่าง พ.ศ. 2543–พ.ศ. 2544นอกจากนี้นิตยสารเอเชียวีกยังได้เสนอชื่อของเขาเข้าชิงตำแหน่ง "Asian
Of The Century" อีกด้วย
การศึกษา
ปรีดีเริ่มเรียนหนังสือที่บ้านครูแสงตำบลท่าวาสุกรี
และสำเร็จการศึกษาในระดับประถมที่โรงเรียนวัดศาลาปูนอำเภอกรุงเก่า จากนั้นไปศึกษาชั้นมัธยมเตรียมที่โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร แล้วย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า (ปัจจุบันคือ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย) จนสอบไล่ได้ชั้นมัธยม 6 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดสำหรับหัวเมือง
แล้วไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
ใน พ.ศ. 2460 เข้าศึกษาที่โรงเรียนกฎหมาย
กระทรวงยุติธรรม และศึกษาภาษาฝรั่งเศสที่เนติบัณฑิตยสภา กับอาจารย์เลเดแกร์
(E.Ladeker) ที่ปรึกษาศาลต่างประเทศกระทรวงยุติธรรมต่อมาสอบไล่วิชากฎหมายชั้นเนติบัณฑิตได้ในขณะมีอายุ 19 ปี แต่ตามข้อบังคับสมัยนั้นยังเป็นเนติบัณฑิตไม่ได้เพราะอายุยังไม่ครบ 20
ปีบริบูรณ์ ต้องรอจนอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงได้เป็นสมาชิกสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ต่อมาได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงยุติธรรมให้ทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2463โดยเข้าศึกษาวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยกอง (Université
de Caen) จนสอบไล่ได้ปริญญารัฐเป็น "บาเชอลิเอร์" กฎหมาย
(bachelier en droit) และได้ปริญญารัฐเป็น
"ลิซองซิเอ" กฎหมาย (Licencié en Droit) ตามลำดับ
ปรีดีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขานิติศาสตร์
จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปารีส พ.ศ. 2469
ด้วยคะแนนเกียรตินิยมดีมาก (trés bien) นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ปริญญาเอกแห่งรัฐ
(doctorat d'état) เป็น "ดุษฎีบัณฑิตกฎหมาย" (docteur
en droit) ฝ่ายนิติศาสตร์ (sciences juridiques) นอกจากนี้เขายังสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในสาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง
(diplôme d'études supérieures d'économie politique) อีกด้วย
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
สมัยที่ 1 - 24 มีนาคม 2489 - 7 มิถุนายน 2489
สมัยที่ 2 - 7 มิถุนายน 2489 - 11 มิถุนายน 2489
สมัยที่ 3 - 11 มิถุนายน 2489 - 23 สิงหาคม 2489
สมัยที่ 1 - 24 มีนาคม 2489 - 7 มิถุนายน 2489
สมัยที่ 2 - 7 มิถุนายน 2489 - 11 มิถุนายน 2489
สมัยที่ 3 - 11 มิถุนายน 2489 - 23 สิงหาคม 2489
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น