นายธานินทร์
กรัยวิเชียร
สำหรับท่านที่14นะคะเรามาดูกันว่าท่านนี้ทำประโยชน์ให้ประเทศไทยอย่างไรบ้างและท่านดำรงตำแหน่งได้นานเท่าไหร่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้างเรามาชมกันเลยนะคะ
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ธานินทร์ กรัยวิเชียร (5 เมษายน พ.ศ. 2470 — ) อดีตองคมนตรี
อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 14 ของไทย
การศึกษา
ธานินทร์ กรัยวิเชียร สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง จากนั้นในปี พ.ศ. 2491 ได้ไปศึกษาวิชากฎหมายต่อที่ ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร และ พ.ศ. 2496 เนติบัณฑิตอังกฤษจาก
สำนักอบรมศึกษากฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา สำนักเกรย์สอินน์ อังกฤษ
บทบาททางการเมือง
แม่แบบ:นายกรัฐมนตรีไทย
2510-2519 แม่แบบ:นายกรัฐมนตรีไทย
2520-2529 ธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของไทย ภายหลังจากที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินโดยการนำของ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน
รัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร
มีนโยบายโดดเด่นคือการต่อต้านภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่กำลังมีอิทธิพลอย่างสูงในขณะนั้น
นโยบายปราบปรามยาเสพติด โดยจัดตั้งสำนักงาน ปปส.ขึ้น อีกทั้งนโยบายด้านการปราบปรามคอรัปชั่น
รัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร
นับว่าเป็นรัฐบาลเผด็จการพลเรือนที่ใช้อำนาจจัดการประชาชนในข้อหาคอมมิวนิสต์
จนมีประชาชนส่วนหนึ่งหนีข้อหานี้เข้าป่าไปเป็นจำนวนมาก
มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ควบคุมเสรีภาพสื่อมวลชน สั่งปิดหนังสือพิมพ์
ซึ่งในระยะเวลา 1 ปี มีคำสั่งปิดหนังสือพิมพ์ถึง 22 ครั้งผู้สั่งปิดได้แก่ นาย สมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
โดยอาศัยอำนาจคำสั่งปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 เป็นยุคมืดของวงการสื่อสารมวลชนและนักหนังสือพิมพ์จนอาจกล่าวได้ว่าเผด็จการพลเรือนนั้นบางทีมีการจำกัดสิทธิมากกว่าเผด็จการทหารเสียอีก
อย่างไรก็ตามเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นนายกรัฐมนตรีที่ซื่อสัตย์สุจริตที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย
ภายหลังจากที่คณะปฏิวัติได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของนายธานินทร์แล้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายธานินทร์
ดำรงตำแหน่งองคมนตรี และได้ดำรงตำแหน่งนี้มาจนถึงปัจจุบัน ก่อนหน้านั้นเขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี
พ.ศ. 2516
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สวรรคต และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จะปฏิบัติหน้าที่องคมนตรีในคราวเดียวกันไม่ได้
ดังนั้น คณะองคมนตรีจึงได้มีมติเลือกนายธานินทร์ ซึ่งเป็นผู้มีอาวุโสสูงสุด
เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรี
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
สมัยที่ 1 - 8 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น