วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

นายพิเชฐ  ดุรงคเวโรจน์



  สำหรับคณะรัฐมนตรีปัจจุบันนะคะ เรามาดูก่อนเลยว่าคณะรัฐมนตรีแต่ละท่านมีประวัติความเป็นมาอย่างไร เรามาดูกันเลยคะ
         ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมคนแรกของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และเป็นอดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี



การทำงาน
พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เคยเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ในระหว่างปี พ.ศ. 2536 ถึงปี พ.ศ. 2540 เป็นผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2542 ถึงปี พ.ศ. 2544 และเป็นประธานคณะทำงานของอาเซียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปี พ.ศ. 2544 ถึงปี พ.ศ. 2546
ในปี พ.ศ. 2546 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ และในปี พ.ศ. 2552 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในปี พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ในปี พ.ศ. 2559 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาอาศัยตามมาตรา 6 ตามพระราชบัญญัติ สภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559 เขาจึงเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมคนแรกที่ได้เป็นสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ

ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%8A%

รัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

พลเอก สุรศักดิ์  กาญจนรัตน์


  สำหรับคณะรัฐมนตรีปัจจุบันนะคะ เรามาดูก่อนเลยว่าคณะรัฐมนตรีแต่ละท่านมีประวัติความเป็นมาอย่างไร เรามาดูกันเลยคะ
      พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และนายทหารพิเศษ ประจำกรมนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ และประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์  อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม และอดีตเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารบก มีชื่อเล่นว่า "เต่า" หรือที่บรรดาสื่อมวลชนเรียกว่า "บิ๊กเต่า"




ประวัติ
      พล.อ.สุรศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายสุนทร กาญจนรัตน์ กับนางผ่องจิต กาญจนรัตน์ มีพี่น้อง 3 คน

การศึกษา
      พล.อ.สุรศักดิ์จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 12 (ตท.12) และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 23 (จปร.23)

ปลัดกระทรวงกลาโหม
      พล.อ.สุรศักดิ์ซึ่งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหมได้รักษาราชการในตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหมแทนพลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ที่ถูกโยกไปเป็นประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหมตามคำสั่งของ คสช. เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นปลัดกระทรวงกลาโหมตามคำสั่งของ คสช. อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ชีวิตครอบครัว
พล.อ.สุรศักดิ์ได้สมรสกับนางแสงอรุณ กาญจนรัตน์ มีบุตรธิดา 2 คน

ยศ
  • พ.ศ. 2557 - พลเรือเอก พลอากาศเอก

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

   ดร. พิชิต อัคราทิตย์



     สำหรับคณะรัฐมนตรีปัจจุบันนะคะ เรามาดูก่อนเลยว่าคณะรัฐมนตรีแต่ละท่านมีประวัติความเป็นมาอย่างไร เรามาดูกันเลยคะ
     ดร. พิชิต อัคราทิตย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และเป็นประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ดการรถไฟ)


การทำงาน
     พิชิต อัคราทิตย์ เคยทำงานเป็นนักวิจัยคณะทำงานของรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (บุญชู โรจนเสถียร) ในปี พ.ศ. 2523 - 2524 ต่อมาเป็นผู้ประสานงานโครงการก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต หลังจากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทกซัส ออสติน จึงกลับเข้ามาทำงานในสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตำแหน่งหัวหน้าผู้วิเคราะห์ สำนักวิจัยตลาด ในปี พ.ศ. 2536 จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาตลาดทุน
   พิชิต ได้ทำงานเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย เวลท์ จำกัด ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย



ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

นายอาคม  เติมพิทยาไพสิฐ




      
    สำหรับคณะรัฐมนตรีปัจจุบันนะคะ เรามาดูก่อนเลยว่าคณะรัฐมนตรีแต่ละท่านมีประวัติความเป็นมาอย่างไร เรามาดูกันเลยคะ
       นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และอดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบูรณาการการพัฒนาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และอีกหลายคณะกรรมการในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมถึงเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหาร สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร


การทำงาน
     อาคม เติมพิทยาไพสิฐ เข้ารับราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิเคราะห์และประมาณการเศรษฐกิจ ในระหว่างปี พ.ศ. 2539 ถึงปี พ.ศ. 2542 เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและแผน (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับ 9 ชช.) ในปี พ.ศ. 2542-2543 จากนั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการ สศช. (2543-2546) และเป็นที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (2546-2547) กระทั่งในปี พ.ศ. 2547 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2553
    ในปี พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ต่อมาในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน เขาได้ลาออกจาก สนช. และเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นการดำรงตำแหน่งควบคู่ทั้งตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ และตำแหน่งทางการเมือง ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 นายอาคม ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แทนพลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ต่อมานายอาคม ได้ยื่นลาออกจากข้าราชการในตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เนื่องจากดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ให้ข้าราชการประจำที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีเกษียณอายุราชการหรือลาออก จากตำแหน่ง โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป

ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1_%

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นางสาวชุติมา บุณยประภัศ




     สำหรับคณะรัฐมนตรีปัจจุบันนะคะ เรามาดูก่อนเลยว่าคณะรัฐมนตรีแต่ละท่านมีประวัติความเป็นมาอย่างไร เรามาดูกันเลยคะ
      นางสาวชุติมา บุณยประภัศร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และเป็นอดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ และอดีตคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

การทำงาน
       ชุติมา บุณยประภัศร เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในกระทรวงพาณิชย์ ได้แก่ อธิบดีกรมการค้าภายใน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และเป็นปลัดกระทรวงพาณิชย์ ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557
      ผลงานที่สำคัญ เช่น การดำเนินการให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก การเจรจาปัญหาการเปิดตลาดข้าวและการกำหนดโควตาไก่แช่แข็งกับสหภาพยุโรป เป็นต้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

พลเอก ฉัตรชัย  สาริกัลยะ

     สำหรับคณะรัฐมนตรีปัจจุบันนะคะ เรามาดูก่อนเลยว่าคณะรัฐมนตรีแต่ละท่านมีประวัติความเป็นมาอย่างไร เรามาดูกันเลยคะ
       พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง ประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาที่เป็นธรรม ประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาที่เป็นธรรม ประธานคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า ประธานกรรมการคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ อดีตประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตประธานคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก อดีตเจ้ากรมการทหารสื่อสาร และอดีตผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

การทำงาน
       พล.อ.ฉัตรชัย เป็นนายทหารช่าง เคยดำรงตำแหน่งเจ้ากรมการเงินทหารบก, รองปลัดบัญชีทหารบก, ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก, ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก(ฝ่ายส่งกำลังบำรุง), รองเสนาธิการทหารบก, ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก(อัตราพลเอก), ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก, รองผู้บัญชาการทหารบกเป็นตำแหน่งสุดท้ายในราชการทหาร และเคยเป็นอดีตนักบินที่ 1 บริษัท การบินไทย จำกัดมหาชน เมื่อ พ.ศ. 2523 ถึง 2547
     หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อมาได้ปรับไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558
      ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เขาลงนามใน ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาซึ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 ใจความสำคัญคือลดจำนวนคณะกรรมจาก 12 รายเหลือ 5 ราย
      ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เขาแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ จำนวน 10 ราย โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 และมาตรา 14 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558
  1. นายสะมะแอ เจะมูดอ
  2. นายกิตติ โกสินสกุล
  3. นายวิริยะ ศิริชัยเอกวัฒน์
  4. นายปัญญา คำลาภ
  5. นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย
  6. นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์
  7. นางเรวดี ประเสริฐเจริญสุข
  8. นายนิธิวัฒน์ ธีรนันทกุล
  9. รองศาสตราจารย์ ดร.กังวาลย์ จันทรโชติ
  10. ดร.สุชาติ อิงธรรมจิตร์
       ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เขาแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ จำนวน 5 ราย โดย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 เป็นที่สังเกตว่าเป็นกรรมการที่ไม่เคยเป็นกรรมการดังกล่าวมาก่อนเลยทั้งหมด ได้แก่
  1. นายสุธน พลายพูล
  2. นายอนันต์ ศิริมงคลเกษม
  3. นายสว่าง ข้อมงคลอุดม
  4. นางบุญญิตา รุจทิฆัมพร
  5. นายมงคล แม้นมาลัย
ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559 เขาแต่งตั้งนายวิทยา ผิวผ่อง เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

พลตำรวจเอก อดุลย์  แสงสิงแก้ว




               สำหรับคณะรัฐมนตรีปัจจุบันนะคะ เรามาดูก่อนเลยว่าคณะรัฐมนตรีแต่ละท่านมีประวัติความเป็นมาอย่างไร เรามาดูกันเลยคะ
          พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประธานกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ประธานคณะกรรมการควบคุมการขอทาน กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนที่ 9,รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติฝ่ายกิจการพิเศษ, อดีตเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 และเป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ครั้งที่สองวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ครั้งที่สาม วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556 โดยขยายระยะเวลาครั้งที่ 1 จนถึง 30 พฤศจิกายน และครั้งที่ 2 จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เป็น หัวหน้าผู้รับผิดชอบในเขตท้องที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงและรองผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557 ในเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557


การทำงาน
        พล.ต.อ. อดุลย์ เคยดำรงตำแหน่งหน้าที่ รอง สวป.สน.ปทุมวัน, ผบ.มว.หน่วยปฏิบัติการพิเศษ จ.นครพนม, สวป.เมืองมุกดาหาร สว.กิ่ง อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร, สว.สภ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาการ, ผบ.ร้อย 4 หห.1 รร.นรต., หน.ผ.3 ยุทธการ กก.ตชด.13 จ.กาญจนบุรี, รอง ผกก.อก.ตชด.ภาค 1, รอง ผกก.2 สสน.ตชด., อาจารย์ภาควิชาทหารและทหารฝึก ร.ร.นรต., รอง ผบก.รร.นรต., รอง ผบก.ตชด.ภาค 1, ผบก.สำนักงานแผนงานและงบประมาณ ผบก.จร., ผู้ช่วย ผบช.น., รอง ผบช.น., ผบช.ภ.3, ผบช.ภ.9, ผู้ช่วย ผบ.ตร., ปรึกษา (สบ 10) , รอง ผบ.ตร. และ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) 
         ตำแหน่งที่ทำให้เขามีชื่อเสียงคือผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า เนื่องจากดูแลความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
        นอกจากนี้ ยังเคยดำรงตำแหน่งพิเศษ อาทิ คณะที่ปรึกษาฝ่ายวางแผนยุทธศาสตร์ กรุงเทพมหานคร กรรมการข้าราชการตำรวจ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน กรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการองค์การตลาด นายตำรวจราชสำนักเวร นายตำรวจราชสำนักพิเศษ กรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่ง และกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยังเคยได้รับรางวัล ปี 2526 รางวัลตำรวจดีเด่น และ ปี 2527 คนไทยตัวอย่าง ของมูลนิธิธารน้ำใจ เพื่อนร่วมรุ่น
         ต่อมา พล.ต.อ. อดุลย์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ต่อจากพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ซึ่งเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555
        ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พล.ต.อ. อดุลย์ เป็นหนึ่งในผู้ทำการรัฐประหารในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติในฐานะรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แต่หลังจากนั้น 2 วัน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งให้ พล.ต.อ. อดุลย์ พ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมี พล.ต.อ. ดร.วัชรพล ประสารราชกิจ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้รักษาราชการแทน  แต่ยังคงดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าเขาขอปลด ตัวเองเพื่อให้ พล.ต.อ. ดร.วัชรพล ประสารราชกิจ เพื่อนของเขาเป็นรักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอีก 4 เดือน
        มีหลักฐานสนับสนุนในเรื่องนี้เนื่องจากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รู้จักกับ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว มานาน ในงานวิจัยเรื่อง "กองทัพไทยกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่" พล.อ.ประยุทธ์ได้สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 7 คน คือ นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช , นายจุฑาธวัช อินทรสุขศรี , พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ,ดร.ปณิธาน วัฒนายากร พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง นายถวิล เปลี่ยนศรี และ พล.ต.ท.อดุลย์ แสงสิงแก้ว (ยศในขณะนั้น)
      ในวันที่ 30 สิงหาคม ปีเดียวกัน ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลของ พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา โดยเป็นข้าราชการตำรวจคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนี้  เขาแต่งตั้งให้ พลตำรวจเอก สุวัฒน์ จันทร์อิทธิกุล เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และ ภายหลังจากที่พลตำรวจเอก สุวัฒน์ ลาออก เขาแต่งตั้ง พลตำรวจเอก อำนาจ อันอาตม์งาม เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์

ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%A5%

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

  กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร



         สำหรับคณะรัฐมนตรีปัจจุบันนะคะ เรามาดูก่อนเลยว่าคณะรัฐมนตรีแต่ละท่านมีประวัติความเป็นมาอย่างไร เรามาดูกันเลยคะ
        กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประธานคณะกรรมการควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาและประธานกรรมการกีฬาอาชีพ ในคณะรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตประธานกรรมการบริหารบริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด





การทำงาน

    กอบกาญจน์ เริ่มทำงานในปี พ.ศ. 2529 เป็นผู้จัดการแผนกโฆษณา ต่อมา พ.ศ. 2555 เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และเป็นประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด
    ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในรัฐบาลของ พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา 

ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

นายวีระศักดิ์  ฟูตระกูล

       สำหรับคณะรัฐมนตรีปัจจุบันนะคะ เรามาดูก่อนเลยว่าคณะรัฐมนตรีแต่ละท่านมีประวัติความเป็นมาอย่างไร เรามาดูกันเลยคะ
       นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและอดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี กระทรวงต่างประเทศ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนักการทูตชาวไทย อดีตผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.)ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 98/2552 ในเหตุการณ์ ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ อดีตเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส แคนนาดา และในอีกหลายประเทศ


การทำงาน
      นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล เริ่มเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2517 ในตำแหน่งเลขานุการตรี กองเอเชียตะวันตกและใต้ กรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาเป็นเลขานุการโท ในปี พ.ศ. 2520 และเลขานุการเอก ในปี พ.ศ. 2525
       ในปี พ.ศ. 2529 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษา (เศรษฐกิจ) สถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และเป็นผู้อำนวยการกองอเมริกา ในปี พ.ศ. 2530 เป็นรองอธิบดีกรมการเมือง ในปี พ.ศ. 2532 และเป็นผู้ช่วยปลัดกระทรวง ในปีต่อมา
      ในปี พ.ศ. 2534 ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัคราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ในปี พ.ศ. 2537 ประจำ ณ กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา จากนั้นในปี พ.ศ. 2540 กลับมารับตำแหน่งอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ และไปเป็นเอกอัครราชทูตคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ในปี พ.ศ. 2543
      ในปี พ.ศ. 2545 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และในปี พ.ศ. 2547 ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส ไปเป็นผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และเป็นผู้แทนไทยใน Governing Board ของศูนย์พัฒนา องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) กระทั่งในปี พ.ศ. 2549 จึงได้ดำรงตำแหน่งเอกอัคราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ต่อมาได้รับตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และเมื่อปี พ.ศ.2552 ได้รับแต่งตั้งเป็น เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และเกษียณอายุราชการในตำแหน่ง เมื่อ พ.ศ. 2555
      นอกจากนั้น นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ยังเคยเป็นที่ปรึกษาบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) และเป็นเจ้าของโรงเรียนธำรงวิทย์ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

นายดอน  ปรมัตถ์วินัย



     สำหรับคณะรัฐมนตรีปัจจุบันนะคะ เรามาดูก่อนเลยว่าคณะรัฐมนตรีแต่ละท่านมีประวัติความเป็นมาอย่างไร เรามาดูกันเลยคะ
       นายดอน ปรมัตถ์วินัย (อักษรโรมันDon Pramudwinai; เกิด: 25 มกราคม พ.ศ. 2493) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนักการทูตชาวไทย อดีตอธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ อดีตเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพยุโรป และในอีกหลายประเทศ



การทำงาน
       นายดอน ปรมัตถ์วินัย เริ่มเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2517 ในกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาระหว่างปี พ.ศ. 2517- พ.ศ. 2523 ไปทำงานในสังกัดกองเอเซียตะวันออก กองเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักเลขานุการรัฐมนตรี เป็นหนึ่งในคณะของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในการเยือนปักกิ่ง เพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน เมื่อปี พ.ศ. 2518 และทำงานกิจการอาเซียนในช่วงหลังการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 ณ บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย พ.ศ. 2519 ในปีพ.ศ. 2523 นายดอนดำรงตำแหน่งรักษาการหัวหน้ากองนโยบายเศรษฐกิจ และการเงิน และหัวหน้ากองพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม สำนักงานอาเซียนแห่งประเทศไทย โดยเริ่มทำงานเกี่ยวกับปัญหาสงครามกัมพูชา–เวียดนาม
     ต่อมาในปีพ.ศ. 2524 นายดอนได้รับแต่งตั้งให้เป็น เลขานุการเอกสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือเยอรมนีตะวันตก และเป็นที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบอนน์ ในปีพ.ศ. 2527
     ปี พ.ศ. 2528 นายดอนกลับมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมการเมือง ก่อนที่จะไปดำรงตำแหน่งอัครราชทูตสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอนเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงการต่างประเทศ และอธิบดีกรมเอเชียตะวันออกในปี พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2534 และพ.ศ. 2535 ตามลำดับ
      ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งประเทศไทยประจำสมาพันธรัฐสวิส นครรัฐวาติกันและราชรัฐลิกเตนสไตน์ ถิ่นพำนัก ณ กรุงแบร์นระหว่างนี้ได้ถวายงานรับเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินเยือนสวิตเซอร์แลนด์ พ.ศ. 2538 และรับเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ในประเทศต่างๆ
     ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ย้ายมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสารนิเทศ ควบคู่กับโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ในสมัยที่นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ในช่วงนี้ได้เริ่มต้นงานด้านเยาวชนไทยในโครงการยุวทูตความดี และกลับไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตอีกครั้ง โดยปีพ.ศ. 2544 ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี และมองโกเลีย ถิ่นพำนัก ณ กรุงปักกิ่ง กรุงปักกิ่ง ขณะนั้นจีนกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งปีเดียวกันที่เข้าดำรงตำแหน่งนั้นจีนได้ในการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก ลำดับที่ 143 หลังจากนั้น ในปีพ.ศ. 2546 ยังมีการระบาดของโรคซาร์สเกิดขึ้นอีกด้วย
     ต่อมา ปี พ.ศ. 2547 นายดอนย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป ราชอาณาจักรเบลเยียม และราชรัฐลักเซมเบิร์ก ถิ่นพำนัก ณ กรุงบรัสเซลส์ ดูแลทุกกิจการของไทยกับสหภาพยุโรปในช่วงวิกฤติสึนามิ พ.ศ. 2547 ซึ่งเชื่อมโยงถึงการที่ไทยได้คืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences – GSP) ของสหภาพยุโรปในปีต่อมา
      ในปีพ.ศ. 2550 นายดอนย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ได้ทำงานเกี่ยวกับข้อเรียกร้องของกัมพูชาเรื่องปัญหาพื้นที่ทับซ้อนกับประเทศไทย กรณีเขาพระวิหาร ที่กัมพูชาพยายามนำเข้าสู่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2550 นี้ นายดอน ยังได้รับรางวัลครุฑทองคำ จากสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้สำหรับข้าราชการพลเรือนที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น
       และในปีพ.ศ. 2552 นายดอนเข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ถิ่นพำนัก ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ดูแลประสานงานความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ในช่วงระหว่างวิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2553 และได้ดูแลโครงการโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง ไทย-สหรัฐอเมริกา ในระดับทั่วประเทศ จนกระทั่งออกจากตำแหน่ง โดยลาออกจากราชการในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 ก่อนเกษียณอายุราชการเพียง 1 เดือน และในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกันนั้น นายดอน เข้ามารับตำแหน่งประธานกรรมการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) ซึ่งตนเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537
      ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 เขาลาออกจากบริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) และเข้ารับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลของประยุทธ์ จันทร์โอชาต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แทนพลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558

ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/ดอน_ปรมัตถ์วินัย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

นายพิเชฐ  ดุรงคเวโรจน์     สำหรับคณะรัฐมนตรีปัจจุบันนะคะ เรามาดูก่อนเลยว่าคณะรัฐมนตรีแต่ละท่านมีประวัติความเป็นมาอย่างไร เรามาดูกันเล...