สำหรับท่านที่25 นะคะเรามาดูกันว่าท่านนี้ทำประโยชน์ให้ประเทศไทยอย่างไรบ้างและท่านดำรงตำแหน่งได้นานเท่าไหร่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้างเรามาชมกันเลยนะคะ
นายกองใหญ่ สมัคร สุนทรเวช (ชื่อจีน: 李沙馬 Lǐ Shāmǎ; 13 มิถุนายน พ.ศ. 2478 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 25 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หัวหน้าพรรคพลังประชาชน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ก่อตั้งพรรคประชากรไทย เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักการเมืองเก่าแก่ ที่มีเสียงพูดและลีลาการพูดเป็นเอกลักษณ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย เช่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2 สมัย) ได้ฉายาจากสื่อมวลชนทั่วไปว่า "น้าหมัก" "ออหมัก" หรือ "ชมพู่" (มาจากลักษณะจมูกของสมัคร) "ชาวนา" (จากกรณีกลุ่มงูเห่า) เป็นต้น
สมัครเริ่มทำงานหลังจบนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เป็นสื่อมวลชนสายการเมือง โดยเขียนบทความ และความคิดเห็น ทางการเมืองแบบไม่ประจำในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และชาวกรุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 จนถึง 2516 เขียนบทความ การเมืองในหนังสือพิมพ์ประชาไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 จนถึง 2520 และเขียนบทความในคอลัมน์ประจำ "มุมน้ำเงิน" หนังสือพิมพ์เดลิมิเร่อร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 จนถึง 2537
สมัครข้ามจากการเป็นสื่ออย่างเดียว มาเริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยเข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี 2511 ลงสมัครตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนขึ้นถึงระดับชาติ จนมามีบทบาทโดดเด่นช่วงปี 2519 จากการจัดรายการสถานีวิทยุยานเกราะ ที่มีเนื้อหาโจมตีบทบาทของ ขบวนการนักศึกษาในสมัยนั้น พร้อมทั้งปลุกระดมมวลชนให้เกลียดชังขบวนการนักศึกษา และ เป็นศูนย์กลางประสานงาน ถ่ายทอดกำหนดการ และคำสั่งเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านนักศึกษาใน เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
เมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์ ใน พ.ศ. 2519 สมัครได้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อม ๆ กับการลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และใน พ.ศ. 2522 ได้ก่อตั้ง พรรคประชากรไทย และดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค มีฐานคะแนนเสียงหลักในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในเขตที่มีหน่วยทหารตั้งอยู่หนาแน่น
ความคิดและบทบาทของสมัคร มักสร้างกระแสมวลชน ทั้งสนับสนุนและคัดค้าน ได้อย่าง กว้างขวางร้อนแรง ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ 6 ตุลา,พฤษภาทมิฬ, ไอเดียหนุนกระทงโฟม ไล่มาจนถึง การกล่าวโจมตี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ทางรายการโทรทัศน์ เมื่อต้น พ.ศ. 2549
ประวัติการทำงาน
·
พ.ศ.
2496: เจ้าหน้าที่สอนเครื่องลงบัญชีไฟฟ้า National Cash Registered
Co.,Ltd. (พ.ศ. 2496–2497)
·
พ.ศ.
2497: เสมียนแผนกรถยนต์ และภายหลังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าแผนกเครื่องอะไหล่ Barrow
Brown Co.,Ltd. (พ.ศ. 2497–2502)
·
พ.ศ.
2502: ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกเครื่องอะไหล่ Loxley Bangkok Co.,Ltd. (พ.ศ. 2502–2504)
·
พ.ศ.
2504: Free
Lance Guide, World Travel Service Co.,Ltd. (พ.ศ. 2504–2506)
·
พ.ศ.
2507: ผู้จัดการแผนกเครื่องอะไหล่ บริษัทเอื้อวิทยาพาณิชย์ จำกัด (พ.ศ. 2507–2509)
·
พ.ศ.
2510: Dietary
Aid, Fox Rever Rehabilitation Hospital, Chicago U.S.A. (พ.ศ. 2510–2511)
·
พ.ศ.
2512: ผู้จัดการแผนกเครื่องอะไหล่ บริษัท เอื้อวิทยาพาณิชย์ จำกัด (พ.ศ. 2512–2513)
·
พ.ศ.
2513: ผู้บริหารฝ่ายขาย John Deere Thailand Co.,Ltd. (พ.ศ.
2513–2514)
·
พ.ศ.
2514: เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล ประจำประเทศไทย
(พ.ศ. 2514–2516)
·
พ.ศ.
2516: ลาออกจากงานประจำและทำงานการเมืองอย่างเดียวเรื่อยมา
เนื่องจากภรรยามีรายได้มั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวแล้ว
ประวัติทางการเมือง
สมัครเริ่มต้นชีวิตการเมืองโดยสมัครเข้าเป็นสมาชิก
พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อ พ.ศ. 2511 เริ่มลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น
สมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ. 2514 และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งแรกใน พ.ศ. 2518 ในชีวิตการเมืองเคยดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง
สรุปประวัติทางการเมืองได้ดังนี้
·
พ.ศ. 2511:
เข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2511–2519)
·
พ.ศ. 2514: สภาเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร (ได้รับเลือกตั้ง เมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514)
·
พ.ศ. 2516:
ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ใน พ.ศ. 2516
·
พ.ศ. 2518:
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (มกราคม 2518)
·
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาล หม่อมราชวงศ์เสนีย์
ปราโมช 2 (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2518)
·
พ.ศ. 2519:
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เมษายน 2519)
·
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล หม่อมราชวงศ์เสนีย์
ปราโมช 3
(20 เมษายน พ.ศ. 2519 – 23 กันยายน พ.ศ. 2519)
·
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2519–2520) ในรัฐบาล ธานินทร์
กรัยวิเชียร (8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 19 ตุลาคม พ.ศ. 2520)
·
พ.ศ. 2522:
ก่อตั้งพรรคประชากรไทย และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค
·
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เมษายน 2522)
·
ประธานคณะกรรมาธิการการคลัง และสถาบันการเงิน (พ.ศ. 2523–2526)
·
พ.ศ. 2526:
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เมษายน 2526)
·
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ 2
(30 เมษายน พ.ศ. 2526 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529)
·
พ.ศ. 2529:
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (กรกฎาคม 2529)
·
ประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง (พ.ศ. 2529–2531)
·
พ.ศ. 2531:
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (กรกฎาคม 2531)
·
ประธานคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2531–2533)
·
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ (9
ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534)
·
พ.ศ. 2535:
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (มีนาคม 2535 – กันยายน 2535)
·
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก สุจินดา คราประยูร (7
เมษายน พ.ศ. 2535 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535)
·
ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม (พ.ศ. 2535–2538)
·
พ.ศ. 2538:
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (กรกฎาคม 2538)
·
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล บรรหาร ศิลปอาชา (13
กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539)
·
พ.ศ. 2539:
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (พฤศจิกายน 2539)
·
รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ (25
พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540)
·
พ.ศ. 2543:
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2543–2547)
·
พ.ศ. 2550:
รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2550 – 30 กันยายน 2551)
·
พ.ศ. 2551:
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (29 มกราคม –
9 กันยายน พ.ศ. 2551)
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
สมัยที่
1 - 29
มกราคม 2551 - 9 กันยายน 2551ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น