วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560

นายกรัฐมนตรีไทย คนที่29


พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา



      สำหรับท่านที่29นะคะเรามาดูกันว่าท่านนี้ทำประโยชน์ให้ประเทศไทยอย่างไรบ้างและท่านดำรงตำแหน่งได้นานเท่าไหร่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้างเรามาชมกันเลยนะคะ
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (ชื่อเล่น: ตู่, เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2497) เกิดที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรของพันเอก(พิเศษ)ประพัฒน์ จันทร์โอชาและนางเข็มเพชร จันทร์โอชา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย, หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคสช., ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรไทย และประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 (ตท.12) เป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 23 และเป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ได้เข้ารับราชการครั้งแรกด้วยยศร้อยตรี ที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ จากนั้นได้รับราชการในสังกัดกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และก้าวขึ้นเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 1, ผู้บัญชาการทหารบก, หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จนมาถึงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทยตามลำดับ นอกกจากนั้นพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชายังอยู่ในกลุ่มทหารบูรพาพยัคฆ์และทหารเสือราชินี
ในปี 2554 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับการโหวตให้เป็นสุดยอดซีอีโอของภาคราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ นอกจากนั้นยังได้แต่งเพลง "คืนความสุขให้ประเทศไทย" เพื่อสื่อความหมายจากใจที่ต้องการคืนความสุขให้ประชาชน โดยมอบให้วิเชียร ตันติพิมลพันธ์ นักแต่งเพลงประกอบละครชื่อดังเป็นผู้เรียบเรียงเนื้อร้องและทำนองประกอบให้และขับร้องโดยกองดุริยางค์ทหารบกอีกด้วย ซึ่งเพลงมีความยาวประมาณ 4 นาที
ด้านรางวัลทางสังคม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้รับรางวัลคนดีสังคมไทย สาขาส่งเสริมและพัฒนาความมั่นคงของชาติในปีพ.ศ. 2548, พ.ศ. 2549 ได้รับรางวัลเกียรติยศจักรดาว สาขาการทหาร และได้รับรางวัลมหิดลวรานุสรณ์ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ในปีพ.ศ. 2553ส่วนงานราชการพิเศษ ถวายงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท พ.ศ. 2552 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ราชองรักษ์พิเศษ และพ.ศ. 2555 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นตุลาการศาลทหารสูงสุด พ.ศ. 2549 ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายทหารพิเศษฯ ประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ และพ.ศ. 2554 ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายทหารพิเศษประจำ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ฯ, เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) พ.ศ. 2553, เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ พ.ศ. 2556 Region of Merit (Degree of Commander) (สหรัฐอเมริกา)
ชีวิตส่วนตัว พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาสมรสกับรองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา รองประธานมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มีธิดาฝาแฝด 2 คน คือ ธัญญา และนิฏฐา จันทร์โอชา ซึ่งทั้งสองสำเร็จการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ประวัติก่อนเป็นนายกรัฐมนตรี

รับราชการทหาร

พลเอกประยุทธ์รับราชการทหารอยู่ที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือ "ทหารเสือราชีนี" มาโดยตลอด โดยเริ่มมาจากตำแหน่งผู้บังคับการกองพัน จนถึงผู้บังคับการกรม จากนั้นจึงย้ายไปอยู่ที่กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และรับตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 1 เขาเป็นสมาชิก "บูรพาพยัคฆ์" ในกองทัพ เช่นเดียวกับพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งทั้งสองยังเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
  • ด้านการเมืองพ.ศ. 2533 – ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารบกที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 พัน 2 รอ.)
  • พ.ศ. 2541 – ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 รอ.)
  • พ.ศ. 2546 – ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ผบ.พล. ร 2 รอ.)
  • พ.ศ. 2549 – แม่ทัพภาพที่ 1 (มทภ. 1 )
  • พ.ศ. 2551 – เสนาธิการทหารบก (เสธ.ทบ.)
  • พ.ศ. 2552 – รองผู้บัญชาการทหารบก (รอง ผบ.ทบ.)
  • พ.ศ. 2553 – ผู้บัญชาการการทหารบก (ผบ.ทบ.)
  • พ.ศ. 2557 – หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

พ.ศ. 2549 - 2554

วันที่ 19 กันยายน 2549 เมื่อเกิดการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)ที่มีพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ พลตรีประยุทธ์เป็นผู้รับคำสั่งตรงจากพลโทอนุพงษ์ เผ่าจินดา แม่ทัพภาคที่ 1 ต่อมาเมื่อพลโทอนุพงษ์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกและเลื่อนชั้นยศเป็น "พลเอก" พลตรีประยุทธ์ก็ได้เลื่อนชั้นยศขึ้นเป็น "พลโท" และรับตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ระหว่างวันที่ 4 กันยายน 2551 ถึง 14 กันยายน 2551 พลเอกประยุทธ์ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและรองผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในเหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 สมัยรัฐบาล สมัคร สุนทรเวช, วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2552 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาธิการทหารบก และต่อมาเป็นรองผู้บัญชาการทหารบก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2553, วันที่ 13 เมษายน 2552 เขาได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 เนื่องจากดำรงตำแหน่งเป็นเสนาธิการทหารบกในขณะนั้น จนสิ้นสุดการประกาศสถานการณ์ในวันที่ 24 เมษายน 2552
ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2553 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบกต่อจาก พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่เกษียณอายุราชการในเดือนตุลาคม 2553โดยมีผลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป, วันที่ 5 ตุลาคม 2553 ถึง 22 ธันวาคม 2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีได้ลงนามแต่งตั้งให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2553 ถึง 22 ธันวาคม 2554 ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2553 ปฏิบัติหน้าที่ตาม พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ คนที่ 1ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินทำหน้าที่เป็นหนึ่งในนายทหารที่ควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เขาได้ลงนามในคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ 141/2553 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เรื่องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ ออกคำสั่งยึดหรืออายัดสินค้าหรือวัตถุอื่นใดที่ก่อให้เกิดความแตกแยก และเขายังเป็นหนึ่งในคณะดำเนินคดีระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อปี 2554

พ.ศ. 2555 - 2557

ภายหลังเปลี่ยนรัฐบาลโดยมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เขาเป็นบุคคลที่หลายฝ่ายคาดว่าจะพ้นจากตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบกโดยอาจเปลี่ยนโยกย้าย เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแทนเนื่องจากเป็นผู้อยู่ตรงข้ามฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลในขณะนั้นแต่ก็ไม่ได้มีการปรับย้ายตามที่ถูกคาดการณ์ นับได้ว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นผู้บัญชาการทหารบกภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีถึง 3 ราย ได้แก่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และตัวพลเอกประยุทธ์เองตามลำดับ

รัฐประหารในประเทศไทย ปีพ.ศ.2557
วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 พลเอกประยุทธ์ ได้ประกาศกฏอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรและจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยเพื่อดูแลสถานการณ์ทางการเมืองขึ้นแทนศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยที่รัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ตั้งขึ้น แต่อีก 2 วันต่อมาเขาได้ทำการรัฐประหาร ในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หลังการหารือกับตัวแทน 7 ฝ่ายไม่เป็นผล ด้วยประโยคที่ว่า"หากเป็นแบบนี้ ผมขอโทษด้วยนะที่ต้องยึดอำนาจ"
ต่อมาในประกาศฉบับที่ ๑๐/๒๕๕๗ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติประกาศให้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
หลังรัฐประหาร เขาแต่งตั้งตัวเองเป็นกรรมการในดังต่อไปนี้
  1. ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557
  2. ประธานคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2557
  3. ประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2557
  4. ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2557
  5. ประธานคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2557
  6. ประธานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2557
  7. ประธานคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2557
  8. ประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2557
  9. ประธานคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ และ ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2557
  10. ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม ตั้งแต่ 30 กรกฎาคม 2557
  11. ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2557
  12. ประธานกรรมการ คณะกรรมการนโยบายแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และการทำประมงผิดกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558
  13. ประธานกรรมการ คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558
  14. ประธานกรรมการ คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
  15. ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559
  16. ประธานคณะกรรมการโครงการสานพลังประชารัฐ ตั้งแต่ วันที่ 18 เมษายน 2559
  17. ประธานคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ ตั้งแต่ วันที่ 27 มิถุนายน 2559 
  18. ประธานสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ตั้งแต่ วันที่ 6 ตุลาคม 2559
  19. ประธานคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ตั้งแต่ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560
  20. ประธานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตั้งแต่ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560
และเขายังเป็นกรรมการตามพระราชบัญญัติ ต่าง ๆ ที่ออกโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557 ดังต่อไปนี้
  1. ประธานกรรมการ คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ตั้งแต่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558
  2. ประธานกรรมการ คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ตั้งแต่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558
  3. ประธานกรรมการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ตั้งแต่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558
  4. ประธานกรรมการ คณะกรรมการกำลังพลสำรอง ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558
  5. ประธานกรรมการ คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตั้งแต่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
  6. ประธานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560
  7. ประธานคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตั้งแต่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
  8. ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในคราวประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ 191 เสียงจากสมาชิกในที่ประชุม 194 คน ลงมติให้พลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี ในการลงมติดังกล่าว ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อไม่ต้องอยู่ในห้องประชุมและไม่ต้องแสดงวิสัยทัศน์ ต่อมามีพิธีรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งในวันที่ 25 สิงหาคม 2557 พลเอกประยุทธ์เป็นนายทหารอาชีพคนแรกที่เป็นนายกรัฐมนตรีนับแต่พลเอก สุจินดา คราประยูร ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2535 เขายังเป็นผู้นำรัฐประหารคนแรกที่เป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่จอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อปี 2515
ในวันที่ 26 สิงหาคม 2557 ซึ่งพลเอกประยุทธ์ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีเป็นวันที่สาม คสช. อนุมัติโครงการและงบประมาณรวมกว่า 1 แสนล้านบาท เป็นงบวงเงินสินเชื่อแนวทางพัฒนายางพารา 50,000 ล้านบาท สร้างบ้านแก่ผู้มีรายได้น้อยประมาณ 34,200 ล้านบาทและอื่น ๆ  วันที่ 26 กันยายน 2557 พลเอกประยุทธ์ลงนามแก้ไขข้อกำหนดคุมวินัยผู้ช่วยรัฐมนตรีในข้อ 11 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี พ.ศ. 2546 โดยเปิดช่องให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งกรรมการ-ที่ปรึกษา รวมถึงเป็นคู่สัญญาหรือมีผลประโยชน์ใดๆ ขัดหรือแย้งกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือองค์กรอื่นของรัฐที่อยู่ในสังกัดหรือในการกำกับดูแลของรัฐมนตรี หรือกระทรวงได้
วันที่ 1 เมษายน 2558 เขาทูลเกล้าฯ ยกเลิกกฎอัยการศึก หลังประกาศใช้เมื่อ 20 พฤษภาคม 2557 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการให้ยกเลิกในวันนั้น จากนั้นเขาใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 44 ในการดูแลความสงบเรียบร้อยแทน วันที่ 5 กันยายน 2558 เขาใช้อำนาจตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ในการแต่งตั้ง เลื่อน ย้าย พักงาน และไล่ออกหรือถอดถอนตำแหน่งข้าราชการ โดยถอดยศ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี วันที่ 31 ตุลาคม 2558 มีการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของพลเอกประยุทธ์ พบว่า เขามีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 128 ล้านบาท มีนาฬิกา 12 เรือน บางเรือนราคา 900,000 บาท ปืน 9 กระบอก นอกจากนี้ ยังแจ้งรายจ่ายคินเงินกองกลางให้พ่อและน้อง 268 ล้านบาท และมอบให้ลูก 198 ล้านบาท รวม 466 ล้านบาท

            ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
              สมัยที่ 1 - 24 สิงหาคม 2557 - ปัจจุบัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

นายพิเชฐ  ดุรงคเวโรจน์     สำหรับคณะรัฐมนตรีปัจจุบันนะคะ เรามาดูก่อนเลยว่าคณะรัฐมนตรีแต่ละท่านมีประวัติความเป็นมาอย่างไร เรามาดูกันเล...