ศาสตราภิชาน รองศาสตราจารย์ ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ปัจจุบันเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประธานกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) กรรมการในคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง อดีตรองนายกรัฐมนตรี ดูแลด้านเศรษฐกิจ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหลายสมัย และยังเป็นที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติและอดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 122/2557
การทำงาน
- เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกระทรวงการคลัง
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
- ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กระทรวงพาณิชย์
- กรรมการ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
- กรรมการ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
- ที่ปรึกษา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- กรรมการในอนุกรรมการพิจารณารับและเพิกถอนหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
- นายกสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- รองประธานคณะกรรมการกลาง มูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ
งานการเมือง
- เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ดร.ทนง พิทยะ)
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)
- ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ศ.ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์)
- ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร
- 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2544รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- 9 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 รองนายกรัฐมนตรี
- 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 - 9 มีนาคม พ.ศ. 2547รองนายกรัฐมนตรี
- 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 รองนายกรัฐมนตรี
- 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ชีวิตภายหลังการรัฐประหาร 2549
ดร.สมคิด ได้ชื่อว่าเป็นขุนพลเศรษฐกิจคนสำคัญของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่นโยบายประชานิยมหรือนโยบายเศรษฐกิจหลายอย่างก็มาจากแนวความคิดของ ดร.สมคิดเอง ในระหว่างการทำงานการเมืองได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีภาพลักษณ์ดี เพราะเก่งกาจ มีความเชี่ยวชาญสามารถคนหนึ่ง และได้ชื่อว่าบางครั้งก็ไม่ทำตามนโยบายหรือแนวทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำหนดไว้เสมอไป
หลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549ได้ทำการลาออกจากการเป็น สมาชิกพรรคไทยรักไทย หลังจากนั้นได้เป็นหนึ่งในตัวแทนกลุ่มมัชฌิมา หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ให้เป็นผู้ทำความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับต่างชาติโดยเฉพาะไทยกับญี่ปุ่น แต่เป็นได้เพียงไม่กี่วันก็ลาออกไป เนื่องจากแรงกดดันจากหลายฝ่าย ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 จากนั้นจึงร่วมในการก่อตั้งพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา โดยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพรรค
ดร.สมคิด ยังนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในฐานะแกนนำกลุ่ม ส.ส. ซึ่งสื่อมวลชนให้ชื่อกลุ่มแกนนำนี้ว่า "8ส.+ส.พิเศษ" อันประกอบด้วย สมศักดิ์ เทพสุทินสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สุวิทย์ คุณกิตติ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ สนธยา คุณปลื้ม และสรอรรถ กลิ่นประทุมส่วน ส.พิเศษ คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
หลังการรัฐประหาร 2557
ดร.สมคิด ได้เข้ารับหน้าที่ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งนำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ดูแลรับผิดชอบเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ท่ามกลางกระแสข่าวความขัดแย้งกับหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ จนกระทั่งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ดร.สมคิด จึงได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และปรับให้หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เขาเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ กรณีกระทรวงการคลังไล่ออกนายสาธิต รังคสิริ พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559
ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%
ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น